ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera
L. var. nucifera
ชื่อสามัญ : Coconut
วงศ์ : Palmae
ชื่ออื่น : ดุง
(จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว
(นครศรีธรรมราช)
หมากอุ๋น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง
20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ
กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม.โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ดอกออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก
ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม
ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ประโยชน์
เปลือกผล
- รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก
โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
กะลา -
แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
ถ่านจากกะลา -
รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา
บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม
สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว
-
ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน
และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง
แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม
หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด
ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน
อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้
ราก - รสฝาด
หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
เปลือกต้น -
เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
สารสีน้ำตาล -
ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี
งานฝีมือจากมะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชที่ผูกพันกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือ ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย
ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รากมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว ประเภทของรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมนั้น มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาจากส่วนต่างๆ ของมะพร้าว
เช่น
ก้านมะพร้าว หรือแกนใบ นำมาผลิตงานหัตถกรรมได้หลายอย่าง เช่น ไม้กวาด
เสวียนหม้อ หรือก้นหม้อ ที่รองจาน เครื่องประดับข้างฝา โป๊ะไฟฟ้า พัด ที่หุ้มภาชนะปักดอกไม้
กระเป๋าถือสตรี กระจาดใส่ผลไม้ เป็นต้น
กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว มีคุณสมบัติแข็งแรง คงทนต่อน้ำและน้ำทะเล
มีความยืดหยุ่น และสปริงดี นำมาทำเชือก ทำพรม กระสอบ
แปรงชนิดต่างๆ อวน ไม้กวาด เส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์
ใบมะพร้าว
ใช้สานเป็นภาชนะใส่ของชั่วคราว ห่อขนม
สานหมวกกันแดด สานเป็นเครื่องเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปสัตว์ต่างๆ ของที่ระลึกประดับตกแต่ง
รากมะพร้าว เป็นเส้นยาว เหนียวมาก ใช้สานเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย จำพวกตะกร้า
ถาด ภาชนะสำหรับดอกไม้หรือใส่ของต่างๆ ประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมของที่ระลึก
รกมะพร้าวหรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบบาง ยืดหยุ่นได้ แต่แยกขาดง่าย
ใช้ผลิตหัตถกรรมประเภท กระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ กล่องใส่ของ ดอกไม้ประดิษฐ์
เป็นต้น
กะลามะพร้าว มะพร้าวแก่จะมีความคงทนมาก ไม่หดตัวแม้ถูกน้ำ ถูกแดด
แต่จะเปราะง่าย หักง่าย หากกระทบกับสิ่งที่แข็งๆ ใช้ทำผลิตภัณฑ์ ภาชนะ
เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ที่วางแก้วน้ำ กระบวยตักน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่
บริเวณที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา : ใกล้สระบัวหลังตึก 1
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น