กระทิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum
inophyllum Linn.
วงศ์ CLUSIACEAE
ถิ่นกำเนิด ประเทศแถบอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว เขมร
มาเลเชีย เวียตนาม อินเดีย
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-30 ม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว
8-15 ซม. ปลายใบกลมหรือเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา
เกลี้ยง เป็นมันวาวทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบจำนวนมาก
ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
เกสรเพศผู้สีเหลือง จำนวนมาก
ผล ผลสดมีเมล็ดเดียว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5
ซม. ผลสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่
ประโยชน์
ดอก : ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ
เมล็ด : มีน้ำมันใช้ทาถูนวดแก้ปวดข้อ เคล็ดบวม รักษาโรคเรื้อน
ใบ : ใช้ใบผสมกับน้ำสะอาดล้างตา
เนื้อไม้ : ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และกระดูกงูเรือ
น้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
และใช้ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ด
บริเวณที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บริเวณหน้าตึก 55 ปี
บริเวณที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บริเวณหน้าตึก 55 ปี
อ้างอิง
http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/fragrant/160-calophyllum
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น