วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กรรณิการ์

กรรณิการ์




ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อวงศ์  OLEACEAE 
ชื่อสามัญ  Night Glooming Jasmine, Night Flower Jasmine, Night Blooming Jasmine, Tree of Sadness
ชื่ออื่น  กรรณิการ์ กณิการ์ กรณิการ์
ถิ่นที่อยู่  เป็นพรรณไม้ที่มักพบอยู่ทั่วไป ในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น ในประเทศพม่าประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และในประเทศไทย เป็นต้น 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ต้นกรรณิการณ์สูงประมาณ 3 – 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ
ดอก ดอกกรรณิการ์มีสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 – 8 ดอก แต่ละดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 – 2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 – 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ผล เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยปักชำและตอนกิ่ง การปลูกด้วยกิ่งตอนลงในกระถาง พบว่าออกดอกได้ดี ชอบที่ร่มรำไรและมีความชุ่มชื้นพอควร การปลูกในสภาพแห้งแล้ง พบว่าไม่ค่อยออกดอก
สรรพคุณ
ใบ ใช้แก้โรคปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย ยาขับน้ำดี ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ตานขโมย วิธีใช้ใบตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำหรือใช้ผสมกับน้ำตาลดื่ม
เปลือก ใช้เปลือกชั้นใน แก้ปวดศีรษะวิธีใช้ด้วยการต้มเปลือกน้ำดื่มหรือนำไปผสมกับปูนขาวก็จะให้เป็นสีแดง
ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน
ราก เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุบำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ผมหงอก แก้อุจจาระเป็นพรรดึกแก้ไอใช้ต้มหรือฝนรับประทาน
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกเป็นพุ่มเป็นกลุ่ม มีดอกดกและกลิ่นหอม
บริเวณที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บริเวณหน้าตึก 9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น